วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การต่อและคำนวน ตัวต้านทาน


ในกรณีไม่มีค่าความต้านทานที่ต้องการ ต้องอาศัยการต่อในรูปแบบต่าง
 เช่นอนุกรม ขนาน หรือผสม 
การต่อวงจรอนุกรม
เมื่อต่อวงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม ค่าความต้านทานรวม ( Rt ) 
เท่ากับผลรวมของ ตัวต้านทานทุกตัวในวงจร
Rt = R1 + R2 + R3 + …….. + Rn
การต่อวงจรขนาน
เมื่อต่อวงจรตัวต้านทานแบบขนาน ค่าส่วนกลับความต้านทานรวม (1/Rt ) 
เท่ากับผลรวมส่วนกลับของตัวต้านทานทุกตัวในวงจร

1/Rt = 1/R1 + 1/R2 + 1/R3 + …….. + 1/Rn Rt = 1/ (1/R1 + 1/R2 + 1/R3 + …….. + 1/Rn )
ในกรณี 2 ตัว
RT = (R1 * R2) / (R1+R2)

เช่น R1 = 100 Ohm // R2 = 50 Ohm
RT = (100 * 50) / (100+50)
= 33.33 Ohm

ในกรณีค่าเท่ากัน ต่อขนานกัน n ตัว
RT = R1/n

เช่น R1 = 10 Ohm , R2 = 10 Ohm , R3= 10 Ohm
RT = 10 /3 = 3.333 Ohm


(การต่อขนาน ค่า R จะมีค่าน้อยกว่าค่าตัวต้านค่าน้อยที่สุด และน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเสมอ)

กรณีศึกษา
การทำดัมมี่โหลด เพื่อทดสอบแทนลำโพงขนาด 8 Ohm 120W ต้องต่อตัวต้านทานอย่างไร
แนวคิด
- ตัวต้านทานที่ทนวัตต์ 120 W นั้น ราคาแพงมาก 
  จึงต้องใช้การต่อขนานช่วยเพื่อแบ่งกระแสออกให้เท่ากัน
- เลือกใช้ตัวต้านทาน ทนวัตต์ ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 12 ตัว
การคำนวณ

จาก Rt = R / n
8 Ohm = R / 12
R = 96 Ohm


แต่ค่า 96 Ohm ไม่มีขาย จำเป็นต้องหาค่าใกล้เคียงที่หารด้วย 8 ลงตัว คือ 120 Ohm

ย้อนคิดจำนวนใหม่
ืn = 120 / 8 = 15 ตัว
สรุป ใช้ ค่าความต้านทาานค่า 120 Ohm 10W จำนวน 15 ตัว ต่อขนานกัน 
ได้ความต้านทานรวม 8 Ohm และทนวัตต์ 150 วัตต์
เพียงพอต่อการทดลอง 120 W

ตัวอย่าง


ข้อมูลจาก : basiclite

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น